ประวัติคริสตจักรภาคที่ 6

คริสต์ ศาสนานิกายโปรเตสแตนทเข้ามาประกาศเผยแพร่ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1828 โดยการนำของ ศจ.นายแพทย์กุสลาฟ และ ศจ. ทอมลิน ต่อมาได้มีการชักชวนคณะมิชชั่นอื่น ๆ ให้ส่งมิชชันนารีมาทำการประกาศในประเทศไทยด้วย ซึ่งได้รับการตอบสนองจากคณะมิชชั่นบางคณะ ในปี ค.ศ. 1840 อเมริกันเพรสไบทีเรียนมิชชั่นได้ส่งมิชชันนารีเข้ามาทำพันธกิจในประเทศไทย คณะมิชชั่นคณะนี้เริ่มทำพันธกิจในกรุงเทพฯ และขยายตัวออกสู่ภูมิภาคคือเพชรบุรี เชียงใหม่ และนครศรีธรรมราชเป็นต้น
การทำ พันธกิจของอเมริกันเพรสไบทีเรียนในประเทศไทย เริ่มต้นด้วยการตั้ง Siam Mission ที่รับผิดชอบการทำพันธกิจในประเทศไทย ต่อมาได้มีการแยกเป็น 2 มิชชั่นคือ Siam Mission (รับผิดชอบการทำพันธกิจในภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันตก และภาคอีสาน) และ North Laos Mission(รับผิดชอบการทำพันธกิจในเขตภาคเหนือ) ต่อมาในปี ค.ศ. 1921 คณะมิชชั่นได้มีการรวม Siam Mission กับ North Laos Mission เป็น Siam Mission รับผิดชอบการทำพันธกิจในประเทศไทยทั้งหมด  การทำพันธกิจของอเมริกันเพรสไบทีเรียนมิชชั่นมีการตั้งสถานีมิชชั่น ( Mission Station ) ในพื้นที่ที่ทำพันธกิจเช่น Bangkok Station, Petchaburee Station, และ Chieng Mai Station เป็นต้น โดยที่แต่ละสถานีจะมีการบริหารงานบุคลากรและงบประมาณของตน

รากฐานของคริสตจักรภาคที่ 6

สถานีมิชชั่นกรุงเทพฯ(Bangkok Station) และพิษณุโลก(Pitsanulok) รากฐานของคริสตจักรภาค ที่ 6
กรุงเทพฯ ในฐานะที่เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย มักจะเป็นจุดเริ่มต้นของงานต่าง ๆ หรือเป็นจุดแรกที่คนต่างชาติเข้าสู่ประเทศไทย อเมริกันเพรสไบทีเรียนมิชชั่นเริ่มพันธกิจในประเทศไทยที่กรุงเทพฯ  กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางการทำพันธกิจในประเทศไทย มีการตั้ง Bangkok Station รับผิดชอบพันธกิจในเขตเมืองหลวง งานของสถานีมิชชั่นกรุงเทพฯ คือการประกาศพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ ด้วยการประกาศตรง มีผู้รับเชื่อ รับบัพติสมา และสถาปนาคริสตจักร  การประกาศผ่านสถาบันการ ศึกษา มีการตั้งโรงเรียนสำหรับเด็กชายและเด็กหญิง(โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน วิทยาลัย โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย และโรงเรียนเยนเฮส์เม็มโมเรียล)มีการตั้งสำนักงานอเมริกันเพรสไบทีเรียนที่ ถนนประมวญ มีการตั้งโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน
คริสตจักรในกรุงเทพฯ
มิชชันนารี ของอเมริกันเพรสไบทีเรียนมิชชั่นเริ่มทำงานในกรุเทพฯ ในปี ค.ศ. 1840  และสถาปนาคริสตจักรเพรสไบทีเรียนที่ 1 แห่งกรุงเทพฯ (The First Presbyterian Church of Bangkok) หรือที่หลายคนเรียกว่า คริสตจักรสำเหร่หรือโบสถ์สำเหร่ในปี ค.ศ. 1860
ในปี ค.ศ. 1878   มีการสถาปนาคริสตจักรที่สอง ซึ่งเป็นคริสตจักรที่พัฒนามาจากคริสตจักรที่เคยตั้งอยู่ในโรงเรียนกุลสตรี วังหลัง ต่อมาเมื่อโรงเรียน   กุลสตรีวังหลังได้มีการย้ายไปอยู่ที่ถนนสุขุมวิทซอย 19 (ซอยวัฒนา) คริสตจักรจึงได้ย้ายตามออกมาแต่ไม่ได้ไปตั้งอยู่ในโรงเรียนวัฒนา คริสตจักรนี้ได้มีการย้ายที่นมัสการไปในที่ต่าง ๆ เช่นโรงเรียนเยนเฮส์เม็มโมเรียล และอาคาร BoonItt Memorial เป็นต้น ภายหลังจึงมีการสร้างโบสถ์ที่สามย่าน เป็นที่รู้จักกันว่า โบสถ์สามย่านหรือคริสตจักรที่สองสามย่าน
ในปี ค.ศ. 1896   มีการสถาปนาคริสตจักรที่สามที่ถนนราชวงค์ คริสตจักรนี้เป็นคริสตจักรจีน ประกอบด้วยคริสเตียนคนจีนสองกลุ่มใหญ่คือ กลุ่มคริสเตียนคนจีนกวางตุ้ง(Cantonese)และกลุ่มคริสเตียนคนจีนที่มาจากซัวไถว(Swatow)
ในปี ค.ศ. 1904   มีการสถาปนาคริสตจักรที่สี่ สืบสัมพันธวงศ์
ในปี ค.ศ. 1922.เมื่อมีการย้ายโรงเรียนกุลสตรีวังหลังจากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้า พระยามาอยู่ในที่ตั้งปัจจุบันและเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย และมีการสถาปนาคริสตจักรที่ห้า วัฒนา เป็นคริสตจักรที่ตั้งอยู่ในโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย
ใน รายงานของสถานีมิชชั่นกรุงเทพฯ ช่วงปี ค.ศ. 1931-1932 มีการระบุว่ามีคริสตจักรในสถานีมิชชั่นกรุงเทพฯ 6 คริสตจักร คริสตจักรที่หก คือคริสตจักรที่มีสมาชิกเป็นคริสเตียนคนจีนกวางตุ้งซึ่งแยกมาจากคริสตจักร ที่สาม(คริสตจักรจีน)
 มิชชันนารีที่เคยทำพันธกิจในสถานีกรุงเทพฯ มีหลายท่านเช่น
1.     Miss Edna S. Cole
2.     Dr. & Mrs. J. A. Eakin
3.     Rev. & Mrs. J. B. Dunlap
4.     Rev. & Mrs. Graham Fuller
5.     Rev. & Mrs. Albert G. Seigle
6.     Rev. & Mrs. Paul  A. Eakin
7.     Miss Alice H. Schaeier
8.     Miss Margaret C. McCord
9.     Rev. & Mrs. M. B. Palmer
10.  Miss A. Galt
11.  Rev. & Mrs. P. H. Fuller
12.  Mr. & Mrs. W. Robert Moore
13.  Mr. A. R. Hammond
14.  Mr. & Mrs. K. K. Thompson
15.  Mrs. W. G. McClure
16.  Miss Alice J. Ellinwood
17.  Miss Faye Kilpatrick
18.  Miss Mabel Jorden
19.  Miss Sara Ann Watterson
20.  Miss Esther Twelker
21.  Miss Jeanne Sloan
22.  Miss J Christensen
23.  Mr. & Mrs.  C. A. Allen
24.  Dr. & Mrs. G. B. McFarland
 คริสตจักรในพิษณุโลก
สถานี มิชชั่นพิษณุโลกตั้งขึ้นในปี ค.ศ.  1899 สถานีมิชชั่นพิษณุโลกก็เหมือนสถานีมิชชั่นอื่น ๆ ที่คณะมิชชั่นเปิดคือ มีการเปิดโรงเรียนผดุงนารีสำหรับเด็กหญิง และโรงเรียนผดุงราษฏร์สำหรับเด็กชาย(ภายหลังรวมกันเป็นโรงเรียนผดุงราษฏร์) เปิดโรงพยาบาล Carl J. Shellman มีการสถาปนาคริสตจักรพิษณุโลกหรือคริสตจักรคริสตคุณานุกูลในปัจจุบัน การขยายตัวของคริสตจักรในเขตสถานีมิชชั่นพิษณุโลกนั้นแตกต่างไปจากสถานีมิ ชชั่นอื่นๆ ในด้านจำนวนซึ่งจากการศึกษาจะพบว่าตั้งแต่เริ่มต้นงานที่พิษณุโลกในปี ค.ศ. 1899 จนถึงปี ค.ศ. 1934 เมื่อมีการตั้งสภาคริสตจักรในประเทศไทย  เราพบว่ามีการสถาปนาคริสตจักรเพียงแห่งเดียว  ในขณะที่สถานีมิชชั่นอื่น ๆ มีการสถาปนาคริสตจักรหลายแห่ง
 มิชชันนารีที่เคยทำงานในสถานีมิชชั่นพิษณุโลกมีหลายท่านเช่น
1.     Rev. & Mrs. A. W. Cooper
2.     Rev. & Mrs. N. Carl Elder
3.     Dr. & Mrs. W. T. Lyon
4.     Dr. & Mrs. J. V. Horst
5.     Dr. & Mrs. Carl J. Shellman
6.     Rev. & Mrs. H. W. Stewart
7.     Miss Helen McClure
8.     Mrs. Freeman 

ในปี ค.ศ. 1934 มีการตั้งสภาคริสตจักรในประเทศไทย และแบ่งเขตการปกครองเป็นคริสตจักรภาคทั้งหมด 7 ภาค คือ
คริสตจักรภาคที่   พื้นที่
1.     เชียงใหม่ ลำพูน
2.     เชียงราย ลำปาง
3.     แพร่ น่าน
4.     กรุงเทพฯ พิษณุโลก
5.     นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี
6.     นครศรีธรรมราช ตรัง
7.     คริสตจักรจีนทั่วประเทศ
จากรายงาน การประชุมสมัชชาสภาคริสตจักรในประเทศสยาม ครั้งแรกระหว่างวันที่ 7-14 เดือนเมษายน ค.ศ. 1934 ที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ที่ประชุมได้แบ่งเขตการปกครองของสภาคริสตจักรฯออกเป็นภาคต่างๆ 7 ภาค โดยมีการนำเขตสถานีมิชชั่นเดิมมาจัดเป็นเขตการปกครองและมีการรวมเอาคริสต จักรในพื้นที่สถานีมิชชั่นกรุงเทพฯ กับสถานีมิชชั่นพิษณุโลกรวมกันเป็นคริสตจักรภาคที่ 4 ในเวลานั้นกรุงเทพฯ เป็นที่รู้จักและยอมรับในชื่อของ พระนคร
คริสตจักรภาคที่สี่ในปี ค.ศ.1934 มีจำนวนสมาชิกสมบูรณ์ 752 คน ถวายเงินบำรุงสภาคริสตจักรฯ 225.60 บาทต่อปี
สมาชิก จากภาคต่างๆ (ประเภทที่ 1) จังหวัดพระนคร(เข้าประชุมสภาคริสตจักรในสยาม ครั้งที่ 1 วันที่ 7-14 เมษายน ค.ศ. 1934 ที่ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
1.     ศจ. กิมเฮง  มังกรพันธุ์
2.     นายเล็ก  ไทยง
3.     นางปลีก  อุนยะวงศ์
สมาชิกของคริสตจักรภาคที่สี่ สภาคริสตจักรในประเทศไทย ในปี ค.ศ. 1934 ประกอบด้วยคริสตจักร 6 คริสตจักรคือ
1.     คริสตจักรที่หนึ่ง สำเหร่
2.     คริสตจักรที่สอง
3.     คริสตจักรที่สี่ สืบสัมพันธวงศ์
4.     คริสตจักรที่ห้า วัฒนา
5.     คริสตจักรคริสตคุณานุกูล
6.     คริสตจักรนานาชาติ(ใช้โบสถ์คริสตจักรที่สี่ เป็นที่นมัสการ)

สำหรับคริสตจักรที่สาม และคริสตจักรที่หก ซึ่งเป็นคริสตจักรจีนนั้นได้ถูกจัดเป็นคริสตจักรภาคที่ 7 คริสตจักรจีนทั่วประเทศ[4] ดังนั้นเมื่อดูรายชื่อคริสตจักรซึ่งเป็นสมาชิกของคริสตจักรภาคที่หก ในปัจจุบันเราจะพบว่ามีการเรียงลำดับคริสตจักรตั้งแต่คริสตจักรที่หนึ่งจน ถึงคริสตจักรที่ห้า โดยไม่มีคริสตจักรที่สามและคริสตจักรที่หก และต่อมาเมื่อมีการสถาปนาคริสตจักรเพิ่มในคริสตจักรภาคที่ 6 ก็ไม่ได้มีการเรียงลำดับที่ของคริสตจักรอีก
ตาม เอกสารของมิชชันนารีกรุงเทพฯ หรือจังหวัดพระนคร เป็นจุดเริ่มต้นการทำพันธกิจประกาศพระกิตติคุณของคณะมิชชั่นเกือบทุกคณะ เมื่อมีการตั้งสภาคริสตจักรในประเทศไทย      ในปี ค.ศ. 1934 สภาคริสตจักรฯ ได้แบ่งคริสตจักรออกเป็นเขตการปกครอง 7 เขตตามพื้นที่ที่คริสตจักรตั้งอยู่โดยเริ่มต้นจากภาคเหนือลงมาภาคกลางและภาค ใต้ และภาคที่ 7 เป็นภาคสุดท้ายที่จัดตามภาษาและวัฒนธรรมคือ จีน
ในรายงานของสถานีมิชชั่นกรุงเทพฯ ปี ค.ศ.1924 ระบุว่าคริสตจักรในกรุงเทพฯ ที่เลี้ยงตนเองได้แล้วคือ
1.     คริสตจักรที่หนึ่ง สำเหร่
2.     คริสตจักรที่สอง(ใช้อาคาร BoonItt Memorial เป็นสถานที่นมัสการ)
3.     คริสตจักรที่สาม(จีน)
4.     คริสตจักรที่สี่สืบสัมพันธวงศ์
5.     คริสตจักรที่ห้า(อยู่ในโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย)
คริสต จักรในเขตจังหวัดพระนคร กับคริสตจักรในจังหวัดพิษณุโลกถูกกำหนดให้เป็นคริสตจักรภาคที่ สี่ ภายหลังเมื่อมีการปรับแยกคริสตจักรภาคใหม่ในปี ค.ศ. 1950 คริสตจักรภาค    ที่ สี่ กรุงเทพฯ พิษณุโลก  ได้ถูกกำหนดให้เป็นคริสตจักรภาคที่  ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาและไม่ได้เปลี่ยนลำดับเป็นลำดับอื่นอีก
รายงาน ประจำปี ค.ศ. 1935 ของสถานีมิชชั่นกรุงเทพฯ ระบุว่าคริสตจักรสืบสัมพันธวงศ์เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ (มีสมาชิกมากกว่าคริสตจักรอื่นๆ) และมิชชันนารีมักจะเรียกคริสตจักรนี้ว่า “College Church” เพราะเป็นคริสตจักรที่ตั้งอยู่หน้าโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และ ช่วยดูแลโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน วิทยาลัยกับโรงเรียนผดุงดรุณี   คริสตจักรนานาชาติก็ได้ใช้โบสถ์คริสตจักร ที่สี่ เป็นที่นมัสการด้วย

คริสตจักร

หมายเหตุ คริสตจักรในลำดับที่ 1-6 เป็นคริสตจักรที่ได้รับการสถาปนาก่อน ปี ค.ศ.1934

 

เจ้าหน้าที่หรือผู้บริหารคริสตจักรภาคที่ 6

ตั้งแต่ มีการก่อตั้งคริสตจักรภาคที่ หก ในปี ค.ศ. 1934 ประกอบด้วยคริสตจักร 5 แห่ง คริสตจักรภาคที่ 6 มีเจ้าหน้าที่หรือผู้บริหารที่มีการเรียกชื่อตำแหน่งในชื่อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้     (คำนำหน้าชื่อ ผู้เรียบเรียงเขียนตามที่ระบุไว้ในเอกสาร)
 ค.ศ. 1934
ศาสนาจารย์กิมเฮง  มังกรพันธุ์                     นายก
อาจารย์พอล์ เอ เอกิ้น                                อุปนายก
ศาสนาจารย์บุญมาก  กิตติสาร                     เลขาธิการ
ครูเล็ก  ไทยง                                          เหรัญญิก
 ค.ศ. 1935
ศาสนาจารย์กิมเฮง  มังกรพันธุ์                     นายก
อาจารย์พอล์ เอ เอกิ้น                                อุปนายก
ศาสนาจารย์บุญมาก  กิตติสาร                     เลขาธิการ
ครูเล็ก  ไทยง                                          เหรัญญิก
 ค.ศ. 1939-1940
ศาสนาจารย์เซ็งแซ(ประสก)  ชัยรัตน์            นายก
ศาสนาจารย์แอลเลน  แบทเช็ท                    อุปนายก
นายชวน  สุวรรณรอ                                  เลขาธิการประจำ
ครูโอมาย  เปสตันยี                                   เหรัญญิก
ค.ศ. 1951
ศาสนาจารย์ประสก  ชัยรัตน์                        ประธาน(ลาออกระหว่างปี)
ศาสนาจารย์เชื้อ  ประมูลวงศ์                       ประธาน
นายศรัณย์  ชัยรัตน์                                   รองประธาน
ศาสนาจารย์เชื้อ  ประมูลวงศ์                       เลขาธิการ
นางสาวอักษร  อนุยะวงษ์                           เหรัญญิก
 ค.ศ. 1952
ศาสนาจารย์เชื้อ  ประมูลวงศ์                       ประธาน
อาจารย์เจริญ  วิชัย                                   รองประธาน
นางทวีรัตน์  วิชัยดิษฐ์                                เหรัญญิก
นายศรัณย์  ชัยรัตน์                                   เลขาธิการ
 ค.ศ. 1953
อาจารย์เจริญ  วิชัย                                   ประธาน
นายจรูญ  วิชัยดิษฐ์                                   รองประธาน
นายศรัณย์  ชัยรัตน์                                   เลขาธิการ
นางทวีรัตน์  วิชัยดิษฐ์                                เหรัญญิก
 ค.ศ. 1954
อาจารย์เจริญ  วิชัย                                   ประธาน
นายสวาท  มิตรกูล                                    รองประธาน
นางสาวละออ  พลาชีวิน                             เหรัญญิก(ลาออก)
อาจารย์เธียร  เขียวขำแสง                          เหรัญญิก
นายจรูญ  วิชัยดิษฐ์                                   เลขานุการ
 ค.ศ. 1955
อาจารย์เจริญ  วิชัย                                   ประธาน
อาจารย์ทองสุก  มังกรพันธ์                         รองประธาน
คุณจรูญ  วิชัยดิษฐ์                                    เหรัญญิก
อาจารย์วิเชียร  วัฒกีเจริญ                           เลขานุการ
คุณมานะ  สมิตะพินธุ                                 ผู้ช่วยเลขานุการ
 ค.ศ. 1957
ครูตาด  ประทีปะเสน                                 ประธาน
ศาสนาจารย์เชื้อ  ประมูลวงศ์                       รองประธาน
อาจารย์จรูญ  วิชัยดิษฐ์                              เลขานุการ
คุณยุพา  อุนยะวงษ์                                   เหรัญญิก
 ค.ศ. 1958
ครูตาด  ประทีปะเสน                                 ประธาน
ศาสนาจารย์เชื้อ  ประมูลวงศ์                       รองประธาน
อาจารย์จรูญ  วิชัยดิษฐ์                              เลขานุการ
คุณยุพา  อุนยะวงษ์                                   เหรัญญิก
ค.ศ. 1959
ครูตาด  ประทีปะเสน                                 นายก
ศาสนาจารย์เชื้อ  ประมูลวงศ์                       อุปนายก
นายประกอบ  นุดล                                    เลขานุการ
คุณยุพา  อุนยวงษ์                                    เหรัญญิก
ค.ศ. 1964
อาจารย์อารีย์  เสมประสาท                         ประธาน
ศาสนาจารย์ทองสุก  มังกรพันธ์                    รองประธาน
คุณยุพา  อุนยะวงษ์                                   เลขานุการ
คุณเจตนี  อรัญญเกษม                              เหรัญญิก
ค.ศ. 1965
ศาสนาจารย์จรูญ  วิชัยดิษฐ์             ประธาน
คุณสุคนธ์  ชะลออยู่                                  รองประธาน
คุณบุญยเกียรติ  นิลมาลย์                           เลขานุการ
คุณเจตนี  อรัญญาเกษม                             เหรัญญิก
 ค.ศ. 1968
ศาสนาจารย์สุรพล  ภูประพันธ์                      ประธาน
ศาสนาจารย์นีระ  กำแหงส่อง                       รองประธาน
ศาสนาจารย์สมชาติ  ชอุ่มทอง                     เลขานุการ
คุณเจตนี  อรัญญาเกษม                             เหรัญญิก
 ค.ศ. 1974
ศาสนาจารย์สุรพล  ภูประพันธ์                      ประธาน
ค.ศ. 1975-1976
นายทิวธวัช  พันธุพงศ์                                ประธาน
ศาสนาจารย์ชัยศรี  รุ่งเรืองวานิช                   รองประธาน
นายบำรุง  ทวีทรัพย์                                  เลขานุการ
นายสุวรินทร์  สารสมุทร                             เหรัญญิก
ค.ศ. 1977-1978
ผู้ปกครองทิวธวัช  พันธุพงศ์                        ประธาน
ศาสนาจารย์ชัยศรี  รุ่งเรืองวานิช                   รองประธาน
ผู้ปกครองบำรุง  ทวีทรัพย์                           เลขานุการ
คุณถนอม  ปินตา                                      ผู้ช่วยเลขานุการ
มัคนายกสุวรินทร์  สารสมุทร                       เหรัญญิก
ค.ศ. 1979-1980
นายทิวธวัช  พันธุพงศ์                                ประธาน
ศาสนาจารย์สุรพล  ภูประพันธ์                      รองประธาน
นายอนุสรณ์  บุญอิต                                  เลขานุการ
ศาสนาจารย์ประยูร  คาระวานนท์                  ผู้ช่วยเลขานุการ
นายสุวรินทร์  สารสมุทร                             เหรัญญิก
ค.ศ. 1981
ผู้ปกครองทิวธวัช  พันธุพงศ์                        ประธาน
ผู้ปกครองอนุสรณ์  บุญอิต                          เลขานุการ
ศาสนาจารย์ประยูร  คาระวานนท์                  ผู้ช่วยเลขานุการ
ผู้ปกครองบุณมี  จุลคีรี                               เหรัญญิก
ค.ศ. 1983-1984
ผู้ปกครองอนุสรณ์  บุญอิต                          ประธาน
ศาสนาจารย์ประยูร  คาระวานนท์                  รองประธาน
ผู้ปกครองพรรณมหา  วุฒิวโรภาส                 เลขานุการ
มัคนายกยุพเรศ  ราชคีรี                             ผู้ช่วยเลขานุการ
ผู้ปกครองนพรัตน์  สุทธิคำ                          เหรัญญิก
ค.ศ. 1985-1986
ผู้ปกครองอนุสรณ์  บุญอิต                          ประธาน
ศาสนาจารย์ประยูร  คาระวานนท์                  รองประธาน
ผู้ปกครองพรรณมหา  วุฒิวโรภาส                 เลขานุการ
คุณยุพเรศ  ราชคีรี                                    ผู้ช่วยเลขานุการ
ผู้ปกครองสุนันท์  สกุลกัน                           เหรัญญิก
ค.ศ. 1987-1988
ผู้ปกครองอนุสรณ์  บุญอิต                          ประธาน
ผู้ปกครองทิวธวัช  พันธุพงศ์                        รองประธาน
ผู้ปกครองรัศมี  คันธเสวี                             เลขานุการ
ผู้ปกครองมยุรี  พิชัยชาญณรงค์                   ผู้ช่วยเลขานุการ
ผู้ปกครองสุนันท์  สกุลกัน                           เหรัญญิก
มัคนายกนิตย์  ประทีปะเสน                         ผู้ช่วยเหรัญญิก
ค.ศ.1989-1990
ผู้ปกครองอนุสรณ์  บุญอิต                          ประธาน
ผู้ปกครองทิวธวัช  พันธุพงศ์                        รองประธาน
ผู้ปกครองมยุรี  พิชัยชาญณรงค์                   เลขานุการ
มัคนายกนิตย์  ประทีปะเสน                         ผู้ช่วยเลขานุการ
ผู้ปกครองสุนันท์  สกุลกัน                           เหรัญญิก
ค.ศ.1991-1992
ผู้ปกครองอนุสรณ์  บุญอิต                          ประธาน
ผู้ปกครองทิวธวัช  พันธุพงศ์                        รองประธาน
มัคนายกนิตย์  ประทีปะเสน                         เลขานุการ
มัคนายกวราพร  พฤฒิสัตยากูล                    ผู้ช่วยเลขานุการ
ผู้ปกครองสุนันท์  สกุลกัน                           เหรัญญิก
ค.ศ.1993-1994
ผู้ปกครองอนุสรณ์  บุญอิต                          ประธาน
ผู้ปกครองทิวธวัช  พันธุพงศ์                        รองประธาน
มัคนายกนิตย์  ประทีปะเสน                         เลขานุการ
มัคนายกวราพร  พฤฒิสัตยากูล                    ผู้ช่วยเลขานุการ
ผู้ปกครองสุนันท์  สกุลกัน                           เหรัญญิก
ค.ศ. 1995-1996
ผู้ปกครองอนุสรณ์  บุญอิต                          ประธาน
ผู้ปกครองทิวธวัช  พันธุพงศ์                        รองประธาน
มัคนายกนิตย์  ประทีปะเสน                         เลขานุการ
มัคนายกวราพร  พฤฒิสัตยากูล                    ผู้ช่วยเลขานุการ
ผู้ปกครองสุนันท์  สกุลกัน                           เหรัญญิก
ค.ศ.1997-1998
ผู้ปกครองอนุสรณ์  บุญอิต                          ประธาน
ผู้ปกครองทิวธวัช  พันธุพงศ์                        รองประธาน
มัคนายกวราพร  พฤฒิสัตยากูล                    เลขานุการ
ผู้ปกครองประทุม  แสนปัญญา                     ผู้ช่วยเลขานุการ
ผู้ปกครองสุนันท์  สกุลกัน                           เหรัญญิก
ผู้ปกครองจิตรา  สุวัจฉราภินันท์                    ผู้ช่วยเหรัญญิก
ค.ศ.1999-2002
ผู้ปกครองอนุสรณ์  บุญอิต                          ประธาน
ผู้ปกครองทิวธวัช  พันธุพงศ์                        รองประธาน
มัคนายกวราพร  พฤฒิสัตยากูล                    เลขานุการ
ผู้ปกครองสุนันท์  สกุลกัน                           เหรัญญิก          
ค.ศ. 2003-2006
ผู้ปกครองอนุสรณ์  บุญอิต                          ประธาน
ผู้ปกครองปรีชา  วิชัยดิษฐ์                          รองประธาน
มัคนายกวราพร  พฤฒิสัตยากูล                    เลขานุการ
มัคนายกสุชาดา  ตีระพัฒนกุล                      ผู้ช่วยเลขานุการ
คุณปราณี  ระนองธานี                                เหรัญญิก
ค.ศ. 2007-2010
ผู้ปกครองปรีชา  วิชัยดิษฐ์                          ประธาน
ผู้ปกครองอนุสรณ์  บุญอิต                          รองประธาน
ศาสนาจารย์.ประสาทพงษ์  ปั้นสวย               เลขานุการ
มัคนายกลาภวริน  สุทธิคำ                           ผู้ช่วยเลขานุการ
ผู้ปกครองวรนุช  คุณะวิภากร                       เหรัญญิก
ค.ศ. 2011-2014
ผู้ปกครองอนุสรณ์  บุญอิต                          ประธาน
ผู้ปกครอง รศ.ดร.ธนาภรณ์  ธาระวานิช          รองประธาน
มัคนายกวราพร  พฤฒิสัตยากูล                    เลขานุการ
ผู้ปกครองวรนุช  คุณะวิภากร                       เหรัญญิก
ค.ศ. 2011-2014
ศาสนาจารย์ ดร.บัณฑูร  บุญอิต                   ประธาน
ศาสนาจารย์ ดร.สมหมาย  บุตรทุมพันธ์         รองประธาน
มัคนายกวราพร  พฤฒิสัตยากูล                    เลขานุการ
ผู้ปกครองวรนุช  คุณะวิภากร                       เหรัญญิก

การประชุมคณะธรรมกิจคริสตจักรภาค

การ ประชุมคณะธรรมกิจคริสตจักรภาคที่ 6 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม  ค.ศ. 1934 ที่ประชุมตกลงให้มีการประชุมคณะธรรมกิจคริสตจักรภาคที่ 6 สมัยสามัญปีละ 1 ครั้ง ในเดือนมีนาคม และเป็นที่น่าสังเกตว่าการประชุมคณะธรรมกิจคริสตจักรภาคที่ 6 ตั้งแต่เริ่มต้นจะใช้ศาลาเปลื้อง  สุทธิคำ ที่คริสตจักรสืบสัมพันธวงศ์ เป็นที่ประชุม ต่อมาคณะธรมมกิจคริสตจักรภาคที่หกได้ตกลงให้มีการประชุมคณะธรรมกิจคริสตจักร ภาคที่ 6 ปีละ 6 ครั้ง ( 2 เดือน ต่อครั้ง)
จาก เอกสารรายงานการประชุมคณะธรรมกิจคริสตจักรภาคที่ 6 ตั้งแต่เริ่มต้น(คริสตจักรภาคที่สี่)จนถึงปี ค.ศ. 1994 พบว่าคณะธรรมกิจคริสตจักรภาคที่ 6 ได้ใช้สถานที่หลายแห่งในการประชุมคณะธรรมกิจคริสตจักรภาค    เช่น คริสตจักรที่สี่  โรงเรียนกรุงเทพ
คริสเตียน วิทยาลัย คริสตจักรที่สอง สามย่าน และห้องประชุมสตรี สภาคริสตจักรฯ แต่ส่วนใหญ่แล้วคณะธรรมกิจคริสตจักรภาคที่หก มักจะใช้ ศาลาเปลื้อง สุทธิคำของคริสตจักรที่สี่ สืบสัมพันธวงศ์เป็นที่ประชุม

สำนักงานคริสตจักรภาค

สำนักงานคริสตจักรภาคที่ 6 นั้นมีการย้ายไปตามคริสตจักรต่าง ๆ จากข้อมูลของคริสตจักรภาคระบุว่ามีการใช้สำนักงานดังต่อไปนี้
ปี ค.ศ. 1984                          คริสตจักรที่ ห้า วัฒนา
ปี ค.ศ. 1988 – 2008             ย้ายจากคริสตจักรที่ ห้า วัฒนา ไปที่คริสตจักรที่ สี่ สืบสัมพันธวงศ์ ( 1 มีนาคม  ค.ศ. 1988)
ปี ค.ศ. 2008                          ได้มีการย้ายสำนักงานคริสตจักรภาคจากคริสตจักรที่สี่   สืบสัมพันธวงศ์ไปที่อาคารสภาคริสตจักรในประเทศไทย ชั้นที่ 2  เมื่อวันที่ 15 มีนาคม  ค.ศ. 2008

สมาชิกคริสตจักรภาคที่ 6

ในปัจจุบัน( ค.ศ. 2010) ประกอบด้วยคริสตจักร 19 คริสตจักร และหมวดคริสเตียน หรือศาลาธรรม 4  แห่งดังต่อไปนี้


บรรพชนแห่งความเชื่อ

ด้วยคณะกรรมการดำเนินงาน คริสตจักรภาคที่ ได้มีมติในคราวการประชุม ครั้งที่ 5/2009 เมื่อ วันที่ 14 กรกฎาคม 2009  เห็นชอบให้จัดทำโครงการยกย่องบรรพชนที่ล่วงหลับไปอยู่กับพระเจ้า ที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการรับใช้พระเจ้า สมควรได้รับการยกย่องเป็นแบบอย่างในการรับใช้พระเจ้าและดำเนินชีวิตที่ดีให้แก่ชนรุ่นหลัง โดยขอให้ทุกคริสตจักรในสังกัดคริสตจักรภาคที่ 6 พิจารณารวบรวมรายชื่อบรรพชนที่สังกัดในคริสตจักรนั้น ๆ  ที่เห็นสมควรได้รับการยกย่องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนรุ่นหลัง ตามหลักเกณฑ์  ดังต่อไปนี้ :-

1. ล่วงหลับไปอยู่กับพระเจ้าแล้ว
2. เป็นสมาชิกในคริสตจักรที่สังกัดคริสตจักรภาค 6 แห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย
3. เป็นคริสเตียนที่เข็มแข็งด้านจิตวิญญาณและการรับใช้พระเจ้าในคริสตจักร
4. เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านความเชื่อ ความประพฤติ ทั้งในชีวิตส่วนตัว ครอบครัวและคริสตจักร
5. เป็นที่ยอมรับของสังคมทั่วไป
 คริสตจักรในสังกัดคริสตจักรภาคที่ ได้เสนอชื่อบรรพชนที่เห็นสมควรได้รับการยกย่องให้เป็นแบบอย่างในการรับใช้พระเจ้าและการดำเนินชีวิตที่ดีให้แก่ชนรุ่นหลัง  คณะธรรมกิจคริสตจักรภาคที่ 6   ได้พิจารณาเรื่องนี้ในคราวการประชุม คณะธรรมกิจคริสตจักรภาคที่ 6 ครั้งที่ 6/2009  เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ.2009 และ การประชุมคณะธรรมกิจคริสตจักรภาคที่ 6 ครั้งที่ 1/2010 วันที่ 30 มกราคม ค.ศ2010  ได้มีมติ เห็นชอบให้ยกย่องบุคคลเหล่านี้ เป็นบรรพชนแห่งความเชื่อ ในสังกัดคริสตจักรภาคที่ 6 ดังมีรายนามดังต่อไปนี้



หมายเหตุ  รายชื่อบรรพชนแห่งความเชื่อในสังกัดคริสตจักรภาคที่ 6 อาจจะมีการเพิ่มเติมขึ้นมาได้ในภายหน้า ถ้าคริสตจักรท้องถิ่นเสนอชื่อบุคคลที่เห็นสมควรได้รับการยกย่องเป็นแบบอย่างที่ดี ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้